ประวัติศาสตร์ศรีเทพ สร้างสรรค์ภูมิปัญญา สะสมผ่านห้วงเวลาในอดีต ซึ่งยังคงปรากฏยู่ในปัจจุบัน
ผ่านชิ้นส่วนทางประวัติศาสตร์ที่สะท้อน ความเชื่อทางศาสนา ความศรัทธาที่หลากหลาย
นครแห่งประวัติศาสตร์ศรีเทพ เป็นแหล่งรวมความศรัทธาที่หลากหลาย เทพยดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองผู้ปกปักรักษา เทพอันศักดิ์สิทธิ์ของฮินดู และศาสนาพุทธ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพุทธศาสนาแบบมหายาน ที่ผสมผสานเข้าด้วยกันในงานศิลปกรรม สถาปัตยกรรม จนเกิดเอกลักษณ์เฉพาะของสังคม ซึ่งเชื่อมโยงวัฒนธรรมเข้ากับธรรมชาติของหุบเขาอันเป็นศูนย์รวมจิตวิญญาณของศาสนาพุทธในพื้นที่
ที่มา: พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร
ศาสนสถานกว่า 112 แห่งเป็นหลักฐานแห่งความศรัทราที่ค้นพบในเมืองโบราณศรีเทพ ไม่ว่าจะเป็นประติมากรรมพระพุทธรูป และธรรมจักร ของพุทธศาสนา ในขณะที่บนเขาศักดิ์สิทธิ์ถมอรัตน์ ยังค้นพบเทวรูปโพธิสัตว์ พระพุทธรูป ที่สะท้อนความเชื่อมหายานอย่างเข้มข้น
ความศรัทราอันยิ่งใหญ่ยังแสดงออกผ่านแกน เชื่อมโยงในการวางผังระหว่างเมืองศรีเทพและถ้ำเขาถมอรัตน์ซึ่งร้อยเรียงพื้นที่ธรรมชาติของเนินเขา เข้ากับศาสนสถานหลัก สู่ใจกลางเมือง ประตูเมืองด้านทิศตะวันตกเมื่อพิจารณาแกนจากเขาถมอรัตน์เชื่อมโยงกับโบราณสถานเขาคลังนอก เกิดเป็นแกนศักดิ์สิทธิ์เพื่อส่งนมัสการของมนุษย์ จากศาสนสถาน ไปสู่ศาสนสถานในพื้นที่ธรรมชาติอันศักดิ์สิทธิ์
ที่มา: banmuang.co.th
อ้างอิง:
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2564, September 18). ประเพณีบวงสรวง ’เจ้าพ่อศรีเทพ’ค้นพบหลักฐานใหม่ทางโบราณคดี. ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย | ประเพณีบวงสรวง ’เจ้าพ่อศรีเทพ’ค้นพบหลักฐานใหม่ทางโบราณคดี. https://db.sac.or.th/inscriptions/news/detail/18670
สมาคมอิโคโมสไทย, กรมศิลปากร, สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2563). (rep.). เอกสารนำเสนอเข้าสู่บัญชีรายชื่อมรดกโลก (pp. 28–65). กรุงเทพฯ.